เจ้าสัวเจริญได้อะไรจากการซื้อ Tarad.com

ท่ามกลางการแข่งขันรุนแรงของ eMarketplace ของต่างชาติ ที่สาดเม็ดเงินมหาศาลแข่งขันแย่งชิงลูกค้า ให้เข้ามาซื้อสินค้าในแพลตฟอร์มของตัวเอง

จนในวันนี้ eMarketplace สัญชาติไทยถึงกับอยู่ไม่ได้

และตลาดดอทคอม eMarketplace สัญชาติไทยที่มีอายุมากกว่า 19 ปีก็เช่นกัน

และที่ผ่านมาตลาดดอทคอมประสบปัญหาขาดทุนในทุกๆ ปีTarad.com

โดยเฉพาะหลัง Rakuten เข้ามาซื้อกิจการตลาดดอทคอมจากภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้งตลาดดอทคอม ในปี 2009 ตลาดดอทคอมประสบปัญหาขาดทุนมหาศาลมากขึ้น จากเม็ดเงินที่ลงทุนประโคมโฆษณาเพื่อแข่งขันในตลาด

การขาดทุนมหาศาลในทุกๆ ปี จากการลงเม็ดเงินโฆษณาในสื่อต่างๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Rakuten ต้องการปิดธุรกิจตลาดดอทคอมพร้อมลอยแพร้านค้าที่เปิดร้านกับตลาดดอทคอมทั้งหมด ถ้าภาวุธ ผู้ก่อตั้งตลาดดอทคอมไม่ซื้อธุรกิจกลับมาในปี 2016Tarad.com

และภาวุธยอมรับการซื้อตลาดดอทคอมกลับมา ตลาดดอทคอมที่เป็น eMarkerplace ในช่วงปี 2016  ก็ยังเป็นธุรกิจที่ขาดทุนเช่นเดิม เพราะ eMarketplace ในประเทศไทยแข่งขันกันสาดเม็ดเงินแย่งชิงลูกค้าอย่างรุนแรง ทำให้ eMarketplace สัญชาติไทยแทบจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ปรับตัวไปสู่ธุรกิจอื่นๆ 

แต่เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ภาวุธ ซื้อบริษัทตลาดดอทคอมกลับมาเพราะบิซิเนสโมเดลของตลาดดอทคอมไม่ได้มีแค่ eMarkerplace เพียงธุรกิจเดียว  และกำลังจะสร้างกำไรในปี2016

ก่อนหน้านั้นในปี 2013บริษัทตลาดดอทคอมเคยปรับตัวด้วยการซื้อบริษัท Pay Solution ซึ่งเป็น ePayment แพลตฟอร์มมาเสริมธุรกิจ และสิ่งที่ซื้อมาเริ่มเห็นผล

ในช่วง2ปีที่ผ่านมาธุรกิจ Pay Solution บริษัทลูกของบริษัทตลาดดอทคอม มีภาวุธ เป็นผู้ถือหุ้น 100% เป็นธุรกิจที่มีรายได้กำไรให้กับบริษัท จากเทรนด์อีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซมาแรง และPay Solotion เป็นบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์ม ePayment ให้กับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่างๆ

และถ้าตัดงบโฆษณาออกไปจะทำให้ตลาดดอทคอมในส่วน eMarkerplace ขาดทุนน้อยลง หรือแทบจะไม่ขาดทุน และเมื่อรวมกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นของ Pay Solution บริษัทตลาดดอทคอมมีผลกำไร

เมื่อดูรายได้จากกระทรวงพาณิชย์พบว่า

ปี2013 ตลาดดอทคอมมีรายได้  52,596,047.75 บาท ขาดทุน34,851,582.2 บาท

ปี2014 มีรายได้ 64,977,030.46 บาท ขาดทุน 47,954,378.93 บาท

ปี2015 มีรายได้  45,141,756.40 บาท ขาดทุน 55,622,934.95 บาท

ปี2016 มีรายได้  164,440,911.91 บาท กำไร  101,708,376.10 บาท

 

 

ปรับตัวจาก eMarketplace สู่แพลตฟอร์ม eCommerce ครบวงจร

ในต้นปีที่ผ่านมาตลาดดอทคอมได้ปรับตัวอีกครั้ง โดยภาวุธลดความสำคัญ ตลาดดอทคอมที่เป็นeMarketplace ลง เพื่อขยายธุรกิจไปสู่บริการ Universal Commerce ในรูปแบบการเป็นแพลตฟอร์มตัวกลางในการเชื่อมโยงร้านค้าไปยัง eMarketplace และโซเชียลมีเดียพันธมิตร

ปัจจุบันภายใต้ Universal Commerce มีพันธมิตรได้แก่ Shopee 11Street และ Facebook และในอนาคตมีแผนที่จะดึง Lazada JD.com รวมถึงeMarketplace ต่างประเทศเข่น Alibaba amazon ebay และอื่นๆTarad.com

ความน่าสนใจของแพลตฟอร์ม Universal Commerce คือเป็นบริการ Freemium จะเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ร้านค้าสามารถเลือกอัพโหลดสินค้าไปฝากขายใน eMarketplace พันธมิตรในทุกๆ รายที่ต้องการพร้อมๆ กันได้ในไม่กี่คลิก และเมื่อเกิดการซื้อขายสินค้าในแพลตฟอร์มพันธมิตรเกิดขึ้น เช่นเกิดการซื้อใน Shopee และ 11Street ระบบหลังบ้านจะเชื่อมโยงการสั่งซื้อมายังแพลตฟอร์ม Universal Commerce ของตลาดดอทคอม โดยร้านค้าไม่ต้องเสียเวลาเข้าเช็คการสั่งซื้อทีละ eMarketplace

นอกจากนี้ภายใน Universal Commerce ยังมีบริการ ePayment  ตัวกลางในการชำระเงิน ระบบคลังฝากสินค้า และระบบโลจิสติกให้บริการร้านค้า ในรูปแบบครบวงจร

ซึ่งภาวุธ มั่นใจว่าในปีนี้ ตลาดดอทคอม จะเป็นธุรกิจที่มีกำไรTarad.com

 

ทีสเปช X ตลาดดอทคอม

จากผลกำไรและการเปลี่ยนแปลง Business Model ของตลาดดอทคอมเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เจ้าสัวเจริญเลือกที่จะลงทุนในธุรกิจของบริษัทตลาดดอทคอม และอีกเหตุผลหนึ่งคือเจ้าสัวเจริญต้องการทีมตลาดดอทคอมมาพัฒนาไอที และระบบอีคอมเมิร์ซให้กับธุรกิจไทยเบฟทั้งหมด

ภายใต้บริษัท ตลาดดอทคอมมีบริษัทลูกคือ Pay Solution ซึ่งเป็นบริษัท ePayment เพียงบริษัทเดียว 

ส่วนธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากตลาดดอทคอม ที่ภาวุธมีอยู่ ได้จดทะเบียนภายใต้บริษัทอื่นๆ ในนาม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เช่นบริษัทโลจิสติก Shippop บริษัท data analytic อย่าง Thoth Zocial และอื่นๆ

เท่ากับว่าตลาดดอทคอมและ Pay Solution จะเข้าไปเป็นบริษัทลูกของทีสเปช ดิจิทัล

การปิดดีลการร่วมทุนกับตลาดดอทคอม ทางฝั่งตลาดดอทคอมถือหุ้นสัดส่วน 49% และทางฝั่งเจ้าสัวเจริญ 51%

โดยฝั่งตลาดดอทคอมมีทุนจดทะเบียน  10,606,100 บาท จดทะเบียนในนามภาสวีร์ ชื้อนิธิไพศาลและภาวุธ พงษ์วิทยภานุ

ซึ่งฝั่งเจ้าสัวเจริญได้ปิดดีลผ่านบริษัททีสเปช ดิจิทัล บริษัทลูกของ อเดสฟอส ซึ่งเป็นบริษัทนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อลงทุนร่วมในธุรกิจอื่นๆ ที่มีฐาปน สิริวัฒนภักดี และปณต สิริวัฒนภักดี ลูกชายของเจ้าสัวเจริญ เป็นผู้ถือหุ้น

โดยทีสเปชเป็นบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2018 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 1 ล้านบาท มีมารุต บูรณะเศรษฐกุล มือดีจากโออิชิ เป็นกรรมการผู้จัดการ

บริษัท ทีสเปช จัดตั้งขึ้นมา ด้วยวัตถุประสงค์หลักคือ หนึ่ง-เข้าไปลงทุนในธุรกิจที่เป็นเทรนด์ในอนาคต ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต และธุรกิจที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งธุรกิจในเครือเจ้าสัวเจริญทั้งหมด โดยตลาดดอทคอมเป็นดิลแรก และดิลเดียวในปีนี้

สอง-นำสินค้าในโครงการต่างๆ ของเครือไทยเบฟ สู่ช่องทางออนไลน์ เช่นสินค้าโครงการประชารัฐ, พัฒนาช่องทางเทรดิชันนัลเทรดในเครือเป็นตัวแทนในการให้บริการการเงินในรูปแบบออนไลน์ เช่นการเป็นตัวแทนในการชำระเงิน เป็นต้น

 

ต่อยอดธุรกิจTarad.com

ผลลัพธ์ที่ได้จากดีลครั้งนี้ ภาวุธ ได้เงินลงทุนในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Universal Commerce ส่วน ทีสเปชของ เจ้าสัวเจริญได้ Know-how ของตลาดดอทคอมมาช่วยพัฒนาธุรกิจออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ ในบริษัทในเครือเจ้าสัวเจริญทั้งหมด

งานแรกที่ทีมตลาดดอทคอมเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาคือการเข้าไปช่วยบริการการจัดการซื้อสื่อในไทยเบฟ  และการพัฒนา modernize โชห่วย  และโปรเจคใหม่กับอัมรินทร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ อเดสฟอสเข้าไปร่วมทุน ก่อนที่จะขยายไปยังโปรเจคอื่นๆ ในอนาคต